อันตรายจากสารทำความเย็นที่มีสารเติมเต็มอื่นปลอมปน
เมื่อถูกปล่อยออกหรือรั่วซึมออกมา มีผลโดยตรงต่อมนุษย์สิ่งมีชีวิตและชั้นบรรยากาศ
แค่น้ำยาแอร์ R134a เพียวๆ ถึงจะมีค่าODPเป็น0 แต่ก็ยังมีค่าGWPที่น่าเป็นห่วงอยู่ดี
#และที่น่าห่วงที่สุดคือความต้องการน้ำยาแอร์ถูกๆหรือถูกที่สุด จนมีการนำสารเติมเต็มอื่นๆมาผสมกับ R134a เพื่อเพิ่มปริมาณ แต่ด้อยคุณภาพ ไม่เว้นแม้กระทั่งนำเอาน้ำยาของแอร์บ้านมาผสม ทั้ง #R-12 #R22 #ไฮโดรคาร์บอน(สามารถติดไฟได้) #แอมโมเนีย และอื่นๆ ซึ่งมีราคาถูกกว่า R134a
เพื่อนำมาสนองความต้องการของลูกค้า
ส่วนใหญ่จะพยายาหาของถูกมากกว่าหาของที่มีคุณภาพ และไม่สนใจว่าของถูกๆที่มีการผสมของสารอื่น มีผลเสียอะไรกับร่างกายและระบบแอร์บ้าง
จริงอยู่ว่าเติมแล้วเย็นคือจบ
#ที่ไม่จบคือผลเสียที่จะเริ่มคุกคามระบบแอร์
#และภัยคุกคามสุขภาพเรานั่นเอง ถ้าหากวันไดเกิดมีการรั่วซึมของน้ำยาแอร์เกิดขึ้นภายในห้องโดยสาร หรือที่เรียกกันว่า “ตู้แอร์รั่ว”เราจะสูดดมรับเอาสารตัวนั้นเข้าไปในระบบหายใจของเราทันที
#ขับรถง่วงๆซึมๆ #วิงเวียนศรีษะ #ตายในรถทั้งที่แง้มกระจกใว้แล้ว #ไฟไหม้รถ #ระบบรั่ว #ท่อแอร์แตก #หนักสุดชิ้นส่วนน้ำยาแอร์ระเบิด
อาจมาจากน้ำยาแอร์ที่มีสารเติมเต็มปลอมปนมารั่วซึมออกมาจากระบบแอร์ #สำคัญแต่มองข้าม
#จากการลดต้นทุนโดยการใช้สารต้องห้าม สารปลอมปน สารเติมเต็ม สารทดแทนเพื่อลดต้นทุน ที่เอามาผสมกับน้ำยาแอร์มีหลายตัวที่อันตรายต่อมนุษย์
เพียงเพื่อให้ได้ของที่ถูกกว่าแต่อันตรายถึงชีวิตและอันตรายต่อบรรยากาศ
ตารางแสดงสมบัติของสารทำความเย็นแต่ละชนิด
Refrigerant Group Atmosphericlife ODP GWP Safety classification
R11 CFC 130 1 4000 A1
R12 CFC 130 1 8500 A1
R22 HCFC 15 0.05 1500 A1
R134a HFC 16 0 1300 A1
R404a HFC 16 0 3260 A1
R410a HFC 16 0 1720 A1
R507 HFC 130 1 3300 A1
R717 NH3 – 0 0 B2
R744 CO2 – 0 1 A1
R290 HC < 1 0 8 A3
R600a HC < 1 0 8 A3
จากตารางจะเห็นว่าสารประเภท CFC และ HCFC มีค่าODP และ GWP ที่สูงกว่าสารประเภทอื่น
สารCFCจึงถูกยกเลิกใช้ไปแล้วและ HCFC กำลังมีการยกเลิกตามมา
สำหรับสารประเภท HFC แม้ว่าจะมีค่า ODP เป็นศูนย์แต่ยังมีค่า GWP ที่น่าเป็นห่วง
############################
ส่วน(ของถูก)สารทำความเย็นธรรมชาติ จำพวก #ไฮโดรคาร์บอน #แอมโมเนีย #คาร์บอนไดออกไซด์ แม้ว่าจะมีค่าODP และ GWP ที่ต่ำก็ตาม แต่สารเหล่านี้ยังมีข้อด้อยในด้านสมรรถนะและความปลอดภัยบางอย่าง เช่น
#แอมโมเนีย มีความเป็นพิษ
#ไฮโดรคาร์บอน จุดติดไฟได้หรือระเบิดได้ เป็นต้น
อย่างไรก็ตามการหาสารทำความเย็นมาทดแทนนั้นต้องพิจารณาว่าใช้กับระบบเดิมหรือระบบที่เปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่
• Drop-in คือ การเอาสารทำความเย็นตัวเดิมออกแล้วบรรจุสารทำความเย็นทดแทนเข้าระบบเดิม
• Retrofit คือ การใช้สารทำความเย็นทดแทนในระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือปรับอุปกรณ์บางตัวเช่น expansion valve และอาจเปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่น
• New system คือ การออกแบบระบบใหม่โดยคัดเลือกอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับความต้องการไปพร้อมๆกับการใช้สารทำความเย็นตัวใหม่
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
เอกสารการบรรยาย Mtec Forum “ทิศทางการใช้และการพัฒนาสารทำความเย็นในประเทศไทย” อ.ดร.รจนา ประไพนพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
ถอดรหัสสารทำความเย็น วารสารเทคนิค (เครื่องกล ไฟฟ้า อุตสาหการ) ปีที่19 เล่มที่ 218 หน้า107-109